วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ปัญหาวัยรุ่น ต้นเหตุและทางแก้
เวลา ที่รับรู้ปัญหาของวัยรุ่น หลายคนมีความหงุดหงิด ไม่พอใจ เบื่อ รู้สึกว่าทำไมไม่เลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง ทำไมต้องสร้างปัญหา คนจำนวนหนึ่งอยากจัดการปัญหาด้วยความรุนแรง ในความเป็นจริงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นมีเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ถ้าจัดการเฉพาะที่ตัววัยรุ่น คงแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน
ทำไมเด็กบาง คนเกิดปัญหาพฤติกรรม ทำไมเด็กบางคนมีความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงและเรื่องเพศ ทำไมเด็กบางคนไม่มีปัญหาทั้งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง
แพทย์หญิงพรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล อธิบาย ถึงปัญหานี้ว่า การเกิดปัญหาของวัยรุ่นมีปัจจัยเสี่ยงทั้งในตัวเด็กและในสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันมีปัจจัยปกป้องที่ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม แม้จะแวดล้อมด้วยสภาพที่เสี่ยงก็ตาม
ในทางจิตวิทยา ถ้าจะแก้ไขปัญหาเด็ก ต้องลดปัจจัยเสี่ยงในตัวเด็กและสิ่งแวดล้อมลง และสร้างปัจจัยปกป้องเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้
เริ่มจากความเสี่ยงแรกคือความเสี่ยงในตัวเด็ก ซึ่งมีผลมาจากครอบครัว การไม่ได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัว ถูกมองว่าเป็นแกะดำ ใช้ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง จะทำให้เด็กมีความคิดต่อต้านสังคม ไม่ยอมรับกติกาการอยู่ร่วมกัน
จากสภาวะดังกล่าวจะทำให้เด็กมีทัศนคติ ที่ดีต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มองพฤติกรรมเหล่านั้นในลักษณะโก้ เป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ให้ความพอใจอย่างทันทีทันใด โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา
นอก จากนี้การที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุยังน้อย ในเด็กที่อยู่ในสภาพปัญหาตั้งแต่กระบวนการคิดพิจารณาด้วยตัวเด็กเองยังไม่ สามารถคิด ตัดสินใจได้ ทำให้ถูกหล่อหลอมความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสม
ความเสี่ยงต่อมาได้แก่ ความเสี่ยงจากครอบครัว ครอบครัวบางครอบครัวยอมตามลูก ไม่รู้วิธีที่จะจูงใจเด็กให้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูกไม่เคยรู้ว่าลูกมีปัญหาอย่างไร บางครอบครัวใช้วิธีบังคับรุนแรงแต่ไม่เคยแก้ปัญหาเด็กได้จริง ครอบครัวมีความขัดแย้ง มีปัญหาในครอบครัว เด็กไม่อยากกลับบ้าน ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ในที่สุดมีกลุ่มของตนเองซึ่งเด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มมากกว่าของครอบ ครัว
บางครอบครัวส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มีทัศนคติยอมรับพฤติกรรมของเด็ก และมองปัญหาว่ามาจากคนอื่น เช่น โทษว่าเพื่อนลูกเป็นต้นเหตุ ปกป้องเด็กในทางที่ผิด ไม่ฝึกเด็กให้รับผิดชอบการกระทำของตนเอง พ่อแม่แก้ไขปัญหาพฤติกรรมลูกด้วยวิธีที่ผิด
นอกจากนี้การที่มีพ่อแม่ มีปัญหาพฤติกรรมไม่น้อยไปกว่าลูก เรียกว่าเป็นพ่อปูกับลูกปูเดินตามกันมา จะทำให้เด็กซึมซับความเห็นแก่ตัว ไม่สนใจเรื่องศีลธรรมมาจากตัวพ่อแม่
ความเสี่ยงในชุมชนและสังคมเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ การ เข้าถึงอบายมุข เหล้า ยา อาวุธ เรียกว่าแวดล้อมด้วยสิ่งจูงใจให้มีความเสี่ยง ทัศนคติของชุมชนเองยอมรับอบายมุข ยอมให้มีสิ่งมอมเมา ผู้ใหญ่ทำผิดให้เด็กเห็น
ค่านิยมของสังคมที่ยอมรับพฤติกรรมเสี่ยง ผู้ใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงเหมือนเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเป็นต้นแบบทางสังคมแต่มีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม ขาดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความเสี่ยง ขาดนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง ปัญหาไม่สามารถแก้ได้ในพริบตา ต้องวางแนวคิดการพัฒนาที่หวังผลในระยะเป็นสิบปี ซึ่งต้องการการตัดสินใจทางนโยบายที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เด็ก
สำหรับหนทางในการแก้ปัญหา ต้องหาทางป้องกันหรือลดความเสี่ยงลง และสร้างภูมิต้านทานให้กับลูก ดังนี้
* สร้างเป้าหมายในชีวิต ในวัยรุ่นการมีเป้าหมายในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ การค้นพบสิ่งที่ตนเองต้องการ และมีความหวังในอนาคต ทำให้เด็กเชื่อมั่น และต้องการเดินทางไปให้ถึง ความมุ่งมั่นในเป้าหมายจะทำให้เด็กตั้งใจ ยึดมั่นในความสำเร็จมากกว่าใช้เวลากับสิ่งที่ยั่วยุ
ปัญหาใหญ่ของ วัยรุ่นไทยส่วนหนึ่งไม่เคยสนใจอนาคตตัวเอง เพราะมีคนคิดแทน จัดการกำหนดให้ว่าควรจะทำอย่างไร โดยตัวเด็กไม่เคยรู้สึกว่าเป็นความต้องการของตนเอง ในขณะที่เด็กอีกกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม แม้จะตั้งความหวัง แต่ชีวิตไม่เคยมีโอกาสจะไปถึง เด็กกลุ่มนี้ทิ้งอนาคตตัวเอง เอาชีวิตรอดไปวันๆ
* สร้างบุคลิกภาพที่มั่นคง เป็นผลมาจากการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เด็กมีความเชื่อมั่นในคนรอบข้างโดย เฉพาะคนที่เป็นพ่อและแม่ เชื่อมั่นว่าพ่อแม่สามารถให้คำแนะนำอย่างเข้าใจ พูดคุยปัญหากับพ่อแม่ได้ มั่นใจในตนเอง มีความภาคภูมิใจ จะสัมพันธ์กับความมั่นใจว่าตนเองสามารถมีชีวิตที่ดีแม้จะแวดล้อมด้วยสิ่งที่ เป็นอบายมุข เด็กกลุ่มนี้จะมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ทำให้มีกลุ่มเพื่อน คนที่เด็กสามารถไว้วางใจได้
* มีความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง อบรมสั่งสอนตั้งแต่วัยเด็ก สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องได้ และมีความเชื่อมั่น แม้จะเห็นคนอื่นทำสิ่งที่ผิด แต่ยังยืนหยัดที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กแสวงหาความหมายของชีวิต การมีประสบการณ์ที่สอนเรื่องชีวิตทำให้เด็กเข้าใจสถานการณ์ในชีวิตดีขึ้น พื้นที่ดีๆ ที่สอนการเรียนรู้สำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ใน ส่วนของครอบครัวย่อมมีความสำคัญในการแก้ปัญหา เริ่มจากสัมพันธภาพในครอบครัว จะเป็นตัวบ่งบอกอุณหภูมิในบ้านว่าสมาชิกอยากกลับมาที่บ้านและเป็นส่วนหนึ่ง ของครอบครัว สายสัมพันธ์ที่มีต่อกันทำให้เด็กคำนึงว่าสิ่งที่ตนกระทำจะเกิดผลอย่างไรกับ ครอบครัว และด้วยความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้อบรมสั่งสอนลูกด้วยความรักได้ สัมพันธภาพที่ดีเกิดจากความสามารถในการสื่อสารความรักต่อกัน เมื่อเด็กเริ่มโตเริ่มมีความต้องการเป็นของตนเองมักเกิดความขัดแย้งกับ ผู้ใหญ่ การสื่อสารด้วยเหตุผลเป็นการอธิบายความต้องการของพ่อแม่และรับฟังความต้อง การของลูก
ดังนั้นการฝึกทักษะสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกโตเป็นวัยรุ่น เป็นเรื่องจำเป็น จะพูดอธิบายความต้องการของตนเองอย่างไร จะแสดงความรักกับลูกอย่างไร ทำอย่างไรลูกจะเข้าใจความคาดหวังของพ่อแม่ในทางที่ดี ไม่ใช่การกดดัน
ครอบ ครัวพร้อมสนับสนุนเด็กวัยรุ่นมีปัญหาได้ง่าย มีความอยากลองอยากเรียนรู้ บางครั้งมีความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ต้องการการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเข้าใจให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ พ่อแม่ต้องมีทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีทางบวก อธิบาย อบรม ชี้แนะ ให้กำลังใจมากกว่าการใช้อารมณ์ ประชด ด่าว่า ไล่ออกจากบ้าน
หากเริ่มต้นแก้ปัญหาเล็กๆ ไม่ได้ เด็กจะขยับเข้าไปหากลุ่มที่นำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น
ด้าน สังคมและชุมชน ต้องร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับเด็ก เข้าถึงเหล้าบุหรี่ยาเสพติดได้ยาก รวมทั้งอบายมุขทุกชนิด ชุมชนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็ก จัดพื้นที่ทางสังคมให้กับเด็กเพิ่มมากขึ้นในขณะที่พยายามลดพื้นที่ที่ทำให้ เด็กเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาลง และการวางนโยบายระยะยาวว่าจะลงทุนอย่างไรในการสร้างปัจจัยปกป้องทุกด้านให้ กับเด็ก ปัญหาวัยรุ่นที่พ่อแม่กำลังเผชิญอยู่ เป็นช่วงเวลาหนึ่งของพัฒนาการของลูก อยากเห็นลูกเป็นอย่างไรในอนาคต ต้องใช้เวลาที่ดีต่อกันในการดูแลลูกในวันนี้
ที่มาของโปงลาง
โปงลาง มีลักษณะวิธีการบรรเลงคล้ายกับระนาดเอก คือนำท่อนไม้ หรือกระบอกไม้มาร้อยติดกันเป็นผืน และใช้ไม้ตีเป็นทำนองเพลง แขวนตี กับเสาบ้าง ขึงบนรางบ้าง หรือบางทีก็ผูกติดกับตัวผู้บรรเลง เครื่องดนตรีชนิดนี้พบทั่วไปในหลายประเทศ สำหรับในประเทศไทยพบในแถบภาคอีสาน และเรียกเครื่องดนตรีนี้หลายชื่อด้วยกัน เช่นเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือหมากโปงลาง เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า หมากขอลอ เพราะเวลาเคาะแต่ละลูกมีเสียงดังกังวานคล้าย ขอลอ (หมายถึง เกราะ ในภาษาอีสาน)
ส่วนคำว่า โปงลาง นั้น เดิมเป็นคำที่ใช้เรียก กระดึงสำริด ที่ใช้แขวนคอวัวในสมัยโบราณที่เรียกกระดึงนี้ว่าโปงลางคงเรียกตามเสียงที่ ได้ยิน ต่อมามีผู้นำชื่อนี้ไปตั้งเป็นชื่อ ลายแคน (การบรรเลงแคน) ที่เป่าเลียนเสียงโปงลางที่ผูกคอวัวเรียกว่า ลายโปงลาง และที่เรียกว่าหมากกลิ้งกล่อมก็เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ สามารถกล่อมให้ผู้ฟังมีความเคลิบเคลิ้มเพลิดเพลิน
โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียง ที่ต้องการในระบบ 5 เสียง โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี วิธีการเทียบเสียง โปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาด และเสียงตามต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียง และมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง ถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียง และคุณภาพเสียงที่ต้องการ การบรรเลงหมากกลิ้งกล่อม หรือโปงลาง นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี ๒ อัน การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดย การสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น เพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" หรือเพลง "ลายกาเต้นก้อน" เป็นต้น
โปงลางนั้นนอกจากจะใช้บรรเลงตามลำพังแล้ว ยังนิยมใช้บรรเลงเป็นวงร่วมกับ เครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น พิณ แคน กลอง เพื่อการฟังและใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนพื้น บ้านอีสานได้เป็นอย่างดี ต่อมาภายหลัง อาจารย์เปลื้อง ฉายรัศมี ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ ได้ประยุกต์วงโปงลางขึ้นใหม่ โดยนำกระดึงผูกคอวัวที่เป็นโลหะมาแขวนเรียงแทนลูกโปงลางเดิมที่ทำด้วยไม้ ทำให้เกิดมิติของเสียงที่แตกต่างจากการบรรเลงโปงลางแบบเดิม นับเป็นต้นแบบของ การพัฒนาโปงลางในระยะต่อมา เช่น การทำลูกโปงลางด้วยแผ่นทองเหลืองขนาดต่าง ๆ รวมถึงการนำเอาไม้ไผ่มาเหลาให้มีขนาดลดหลั่นกัน ทำให้ได้เสียงที่ทุ้มและนุ่มนวลขึ้น
ต้นกำเนิดโปงลาง
โปงลาง บางแห่งเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเติน เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก "เกราะลอ" หรือ ขอลอ คำว่า "โปงลาง" นี้ ใช้เรียกดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นแพร่หลายทางภาคอีสานตอนกลางและตอนเหนือบางส่วน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเล่นแพร่หลายมาก เพราะเป็นที่กำเนิดโปงลาง ความหมายของโปงลางนั้นมาจากคำ ๒ คำ คือ คำว่า "โปง" และ "ลาง"
โปง เป็นสิ่งที่ใช้ตีบอกเหตุ เช่น ตีในยามวิกาลแสดงว่ามีเหตุร้าย ตีตอนเช้าก่อนพระบิณฑบาตให้ญาติโยมเตรียมตัวทำบุญตักบาตร และ ตีเวลาเย็นเพื่อประโยชน์ให้คนหลงป่ากลับมาถูก เพราะเสียงโปงลางจะดังกังวาลไปไกล (สมัยก่อนใช้ตีในวัด) ส่วนคำว่า ลาง นั้น หมายถึง ลางดี ลางร้าย
โปงลางนั้นก่อนที่จะเรียกว่า โปงลาง มีชื่อเรียกว่า "เกราะลอ" ซึ่ง เกราะลอ มีประวัติโดยย่อคือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบ "เกราะ" ที่ใช้ตีตามหมู่บ้านในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หมากเลื่อม (ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล ) ใช้เถาวัลย์มัดร้อยเรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่ ในนา ต่อมาท้าวพรหมโคตร ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเหมือน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน นายปานได้เปลี่ยนเกราะลอ จากเดิมมี 6 ลูก เป็น 9 ลูก มี 5 เสียง คือ เสียง โด เร มี ซอล และ ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องนายปานได้รับการถ่ายทอดการตีเกราะลอ และนายขานนี่เองที่เป็นคนถ่ายทอด การตีเกราะลอให้กับศิลปินแห่งชาติผู้พัฒนาโปงลางให้เป็นเครื่องดนตรีที่ใครๆ ก็รู้จัก นายเปลื้อง ฉายรัศมี
เนื่อง จากเกราะลอใช้สำหรับตีไล่ ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่นา ดังนั้น จึงมีเกราะลออยู่ในทุกโรงนา (อีสานเรียกว่า เถียงนา) เมื่อเสร็จจากภาระกิจในนาแล้ว ชาวนาจะพักผ่อนในโรงนาและใช้เกราะลอเป็นเครื่องตี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเกราะลอนี้จะตีนอกหมู่บ้านเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าตีในหมู่บ้านจะเกิดเหตุการไม่ดี เช่น ฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น
การเรียนการตีเกราะลอในสมัยก่อน เป็นการเลียนแบบ คือเป็นการเรียนที่ต้องอาศัยการจำโดยการจำทำนองของแต่ละลาย เกราะลอที่มี 9 ลูกนี้จะเล่นได้ 2 ลายคือ ลายอ่านสือใหญ่ (อ่านหนังสือใหญ่) และลายสุดสะแนน (เช่นเดียวกับลายแคนและลายพิณ ดังนั้นเมื่อนำมาเล่นผสมผสานกันจึงได้อรรถรสยิ่งนัก)
ปี พ.ศ 2490 นายเปลื้อง ได้เรียนวิธีทำเกราะลอ และการตีเกราะลอ จากนายขาน ลายที่ตีคือ ลายภูไทใหญ่ หรืออ่านหนังสือใหญ่ นอกจากนั้น นายเปลื้อง ยังเป็นคนที่นำเกราะลอมาตีในหมู่บ้านเป็นคนแรก ในปีแรกนั้นการตีเกราะลอไม่เพราะหูคนฟังเท่าไรนัก 2 ปีต่อมาการตีเกราะลอของนายเปลื้องจึงดีขึ้น จนชาวบ้านพากันนิยมว่าตีได้ดี
ปี พ.ศ 2500 นายเปลื้อง ได้วิวัฒนาการ การทำเกราะลอ จากแต่ก่อนหน้านี้ที่ทำด้วยไม้หมากเลื่อม มาเป็นไม้หมากหาด ( มะหาด , หาด ) ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีแล้วไม่บวมง่าย โดยเฉพาะไม้ที่ตายยืนต้น เสียงจะกังวาล ที่เอาไม้หมากหาดมาทำโปงลางนี้ นายเปลื้องได้รับแนวคิดจากพระที่วัด ที่นำไม้นี้มาทำโปงที่ตีบอกเหตุ หรือตีให้สัญญาณดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ต่อมานายเปลื้อง ได้คิดทำเกราะลอ เพิ่มลูกจาก 9 ลูกมาเป็น 12 ลูก เมื่อทำเสร็จลองตีดูเห็นว่าเสียงเพราะมาก
ดังนั้นในปี พ.ศ 2502 นายเปลื้องจึงเพิ่มลูกเกราะลอจาก 12 ลูกมาเป็น 13 ลูก และเพิ่มเสียงจาก 5 เสียง เป็น 6 เสียง คือ เสียง โด เร มี ฟา ซอล และลา ( ส่วนเสียง ซี นั้น ดนตรีพื้นเมืองของ
อีสานจะไม่ปรากฏเสียงนี้ จึงไม่เพิ่มเสียงนี้ไว้ ) และได้คิดลายใหม่ๆ เพิ่มเป็น 5 ลาย คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือน้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อย และได้เปลี่ยนชื่อ "เกราะลอมา" เป็น "โปงลาง" ซึ่งเรียกชื่อ ดนตรีชนิดนี้ว่า โปงลาง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ 2505 นายเปลื้องซึ่งสนใจและศึกษาโปงลาง หรือ เกราะลอเดิม มาตั้งแต่อายุ 14 ปี ตั้งแต่การเล่นนอกหมู่บ้านและนำมาเล่นในหมู่บ้าน และเคยรับงานแสดงในเทศกาลต่างๆ แต่การเล่นมักจะเป็นการเล่นเดี่ยวเท่านั้น นายเปลื้องจึงได้เกิดแนวความคิดว่า ดนตรีอีสานมีหลายอย่างด้วยกัน หากนำมาบันเลงร่วมกันคงจะมีความไพเราะและเร้าใจมากขึ้น จึงได้รวมเพื่อนๆ ตั้งวงโปงลางขึ้น โดยนำเอา ซอ พิณ แคน กลอง หมากกั๊บแก้บ ไห มาร่วมกันบรรเลง และได้รับความสนใจจากผู้ที่ได้รับชมเป็นอันมาก
ปี พ.ศ 2511 นายเปลื้อง ได้พบกับนายประชุม อินทรตูล ซึ่งเป็นป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ นายประชุมให้การสนับสนุน และตั้งวงโปงลางขึ้นใหม่ ชื่อว่า วงโปงลางกาฬสินธุ์ นอกจากจะมีเครื่องดนตรีและเครื่องประกอบจังหวะแล้ว ยังมีรำประกอบอีกด้วย รำในขณะนั้นก็มีรำโปงลาง รำซวยมือ รำภูไท เป็นต้น วงโปงลางกาฬสินธุ์ได้รับความนิยมตลอดมา และได้มีการอัดเทปขายให้กับผู้สนใจด้วย
เนื่องจากนายเปลื้อง ได้เปลี่ยนและย้ายไปทำงานหลายแห่ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่นายเปลื้องทำงานในที่ต่างๆ ก็จะเผยแพร่และฝึกสอนโปงลาง และดนตรีพื้นบ้านอีสานแก่ผู้สนใจ และตั้งวงโปงลางให้แก่ที่ที่ทำงานนั้นๆ เสมอ โดยเฉพาะวงโปงลางกาฬสินธุ์นั้น นายเปลื้องได้ควบคุม ดูแล ฝึกสอนและพัฒนาตลอดมา จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้อย่างแพร่หลาย จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง ได้มีโอกาสแสดง ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ ขอนแก่น แสดงงานเฉลิมพระชนมพรรษา ที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
นอกจากจะได้แสดงเผยแพร่ทางสื่อมวลชนสาขาต่างๆ แล้ว วงโปงลางยังได้มีโอกาสไปแสดงที่สวนจิตรลดา วังละโว้ วังสราญรมย์ สวนอัมพร และตามจังหวัดสำคัญใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี เมืองโบราณสมุทรปราการ โดยก่อนหน้านั้นนายเปลื้องยังได้มีโอกาสนำโปงลางไปบรรเลงพื่อเป็นการต้อนรับ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในโอกาสที่ท่านเดินทางมาเยี่ยมค่ายพระยอดเมืองขวาง จังหวัดนครพนมอีกด้วย
ถึงแม้ว่า โปงลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่นายเปลื้องได้พัฒนาขึ้นมานี้ จะมีอายุไม่มากนักเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชนิดอื่น เช่น แคน พิณ ซอ เป็นต้น แต่เนื่องจากโปงลาง เป็นดนตรีที่มีเสียงไพเราะกังวาล และให้ความรู้สึกของความเป็นพื้นบ้านอีสานได้อย่างแท้
จริง จึงทำให้โปงลางได้รับความนิยม และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง จึงทำให้ได้รับเลือกเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบภาพยนตร์ โดยเฉพาะเรื่อง "แคนลำโขง" และ "แผ่นดินแม่" ซึ่งนายเปลื้องได้ลงมือบรรเลงโปงลาง ดนตรีที่ตนเองพัฒนามาประกอบภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องนี้ด้วยตนเอง
เนื่อง จาก "โปงลาง" ได้รับความนิยมสูงมาก ดังนั้นทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 โดยรายการชีพจรลงเท้า ได้ติดต่อนายเปลื้อง เพื่อสัมภาษณ์สาธิตวิธีทำและการเล่น ให้ได้ออกอากาศเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
นอกจากจะเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในประเทศไทยเราแล้ว เมื่อปี พ.ศ 2516 นายเปลื้อง ฉายรัศมี โดยการนำของ ร้อยโทวิรัตน์ พงษ์สวัสดิ์ ได้เดินทางไปในลักษณะการท่องเที่ยว แต่ได้นำศิลปะวัฒนธรรมไปแสดงด้วย ซึ่งในครั้งนี้ นายเปลื้อง ได้มีโอกาสนำ โปงลาง ไปแสดงที่มาเลเซีย สิงคโปร์ อิหร่านและกรีซ ซึ่งทำให้ "โปงลาง" ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้น และสามารถใช้เป็นสื่อทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้นยังมีชาวสวิสและชาวอเมริกัน ได้ฟัง "โปงลาง" แล้วสนใจ และได้นำไปยังประเทศของตนอีกด้วย
นอกจากจะทำหน้าที่สอนดนตรีพื้นบ้านอีสานแก่นักเรียนนาฎศิลป์ ของวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์แล้ว นายเปลื้องยังได้ร่วมมือกับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดการอนุรักษ์ เผยแพร่ และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของอีสานอีกทางหนึ่งด้วย โดยจัดการอบรมและฝึกสอนดนตรีพื้นบ้านอีสาน จัดการประกวดโปงลาง จัดกิจกรรมวัฒนธรรมสัญจร เป็นต้น นอกจากนั้นด้วยความร่วมมือของท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์ ได้ตั้งวงโปงลางของวิทยาลัยขึ้น ได้มีโอกาสเผยแพร่ไปในต่างจังหวัด เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และยังมีโอกาสไปแสดง ณ. ประเทศอินเดียด้วย
ปัจจุบันนี้นายเปลื้องได้เป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ กาฬสินธุ์ ทำหน้าที่สอนดนตรีพื้นบ้านอีสาน ได้แก่ พิณ ซอ แคน โปงลาง โหวด และอื่นๆ แก่นักเรียนนาฎศิลป์ พร้อมทั้งควบคุมวงโปงลางของวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์
นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริง เป็นผู้มีความสามารถพิเศษ สามารถเล่นและสอนดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลาง และอื่นๆ โดยเฉพาะโปงลางนั้น สามารถถ่ายทอดและเล่นได้ดีเป็นพิเศษ
และที่สำคัญที่สุดคือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุง และพัฒนาโปงลางตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้เกราะลอซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ตีไล่นกกาตามไร่ ตามนา พัฒนาเป็น "โปงลาง" ที่มีสภาพเป็นเครื่องดนตรี เอกลักษณ์ของภาคอีสานเคียงคู่กับแคน ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว นายเปลื้อง ฉายรัศมี จึงควรแก่การยกย่องเชิดชูไว้ในฐานะเป็น "ศิลปินแห่งชาติ" สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน โดยแท้จริง
วิธีทำโปงลาง
ไม้ ที่ใช้ทำโปงลางนั้นส่วนมากจะไม้เนื้อแข็ง เพราะจะให้เสียงที่ไพเราะและกังวาล ไม้ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ไม้หมากหาด ( มะหาด ) ใช้ทำลูกโปงลาง ไม้ประดู่ใช้ทำไม้ตีและขาตั้ง ไม้มะหาดนั้นจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด โดยจะแบ่งตามเกรด ดังนี้
ไม้มะหาดทองคำ จัดอยู่ในเกรด A
ไม้มะหาดดำ จัดอยู่ในเกรด B
ไม้มะหาดน้ำผึ้ง จัดอยู่ในเกรด C
การเลือกไม้
การ เลือกไม้ที่จะนำมาใช้ทำโปงลางนั้น จะต้องเป็นไม้มะหาดที่ตายแล้วประมาณ 20 ปีขึ้นไป เพราะจะให้เสียงที่ดี กังวาน และไม่ผิดเพี้ยนหลังจากการผลิต ส่วนไม้มะหาดที่ยังสดอยู่นั้น จะไม่ใช้เพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนไปจากความเป็นจริง และเสียงจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อไม้แห้งลง
วิธีทำลูกโปงลาง
ไม้ ที่ตัดมาจากต้นจะตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละ 65 เซนติเมตร ท่อนหนึ่งจะผ่าแบ่งเป็นลูกโปงลางได้ 4-8 ลูก แล้วแต่ขนาดของท่อนไม้ ถ้าเป็นวิธีทำสมัยโบราณไม่มีเครื่องทุ่นแรงใดๆ เมื่อนำมีดมาถากไม้พอกลม ก็นำมาใช้ได้เลย ต่อมาได้นำเครื่องทุ่นแรงมาใช้คือ กบมือ จึงได้นำกบมือมาไสไม้ที่ทำโปงลางให้มีความกลมและสวยงามมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน
ใช้มีดถากให้กลมพอประมาณ และขั้นตอนต่อไป นำไปเข้าเครื่องกลึงเพื่อความสวยงาม ละเอียด และกลมมากขึ้น เมื่อกลึงเสร็จแล้ววัดและตัดขยาดความยาว ลูกแรกยาว 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์ 7 เซนติเมตร ลูกต่อมาลดลงตามส่วน ห่างกันลูกละ 1 เซนติเมตร ลูกสุดท้ายยาว 29 เซนติเมตร
ขั้นตอนต่อไป นำไม้มาวัดหัวท้ายข้างละ 12 เซนติเมตร และลดลงตามส่วน ลูกล่างสุดวัดได้ 6 เซนติเมตร ในแต่ละข้าง เรียงไม้ให้สม่ำเสมอกัน แล้วนำมีดมาถากให้มีลักษณะเว้าทั้ง 2 ข้าง ของลูกโปงลาง แล้วนำมาแต่งเสียงโดยวิธีการตัดไม้ออก และเทียบเสียงให้เข้ากับ โปงลางต้นแบบ ขั้นตอนสุดท้าย เจาะรู โดยวัดเข้ามาวิธีเดียวกันกับการถากลูกโปงลางให้เว้า
การเทียบเสียง
เสียง โปงลางถ้าใช้กับวงพื้นบ้านอีสานทั่วไป จะใช้ แคน เป็นหลักในการบันทึกเสียง แต่ถ้าจะใช้บรรเลงกับวงดนตรีสากล จะต้องใช้ คีย์บอร์ด, อิเล็คโทนในการเทียบเสียง หรือไม่ก็ใช้เครื่องเทียบเสียงสากล ในการเทียบเสียงลูกโปงลางในแต่ละลูก เสียงที่ได้มาจะเข้ากับเครื่องดนตรีสากลได้เป็นอย่างดี
เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน
การ ฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ทันทีว่าต่างจากภาคอื่นๆ แม้จะไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการแสดงซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
- ท่วงทำนองของดนตรี จังหวะ ลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความสนุกสนานเร้าใจแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของไทย
- การแต่งกายของผู้แสดง ทั้งนักแสดงหญิงและชายจะมีความเด่นชัด ในฝ่ายหญิงจะนุ่งซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบหรือแพรวา ผมเกล้ามวย ฝ่ายชายจะสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่งผ้าลายเป็นตาๆ ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นการแสดงของอีสาน
- เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาคอีสานอบ่างชัดเจน พิณ แคน โปงลาง โหวด ไหซอง กลองตุ้ม ถึงแม้จะยังไม่มีการบรรเลงก็พอจะบอกได้ว่า การแสดงต่อไปนี้จะเป็นการแสงของภาคอีสาน
- ภาษาอีสาน แน่นอนว่าเป็นภาษาเฉพาะถิ่นที่มีสำเนียงที่แตกต่าง เป็นการชี้ชัดว่าเป็นการแสดงของภาคอีสาน
ท่า ฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีความเป็นอิสระสูง ไม่มีข้อจำกัดตายตัวทั้งมือและเท้า ส่วนใหญ่ท่าฟ้อนจะได้มาจากท่าทางหรืออริยาบถธรรมชาติ และมีท่าพื้นฐานที่แตกต่างกันไปเฉพาะถิ่น เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทยดำ เรือมอันเร เป็นต้น
ถึงแม้จะมีความคิดที่จะพยายามกำหนดท่าฟ้อนของภาคอีสานให้เป็นแบบฉบับขึ้น มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับนาฏศิลป์ภาคกลางที่มี "ท่าแม่บท" เป็นพื้นฐานในการฟ้อนรำนั้น เป็นแนวคิดหนึ่งที่ต้องการให้การฟ้อนภาคอีสานมีระบบ และหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะจะเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งตามจริงแล้วท่าฟ้อนของอีสานมีความเป็นอิสระไม่มีการกำหนดท่าแน่นอนตาย ตัวว่าเป็นท่าอะไร ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะตั้งชื่อว่าเป็นท่าอะไร ความเป็นอิสระนี่เองที่ทำให้เกิดท่าฟ้อน ชุดใหม่ๆ ที่แปลกตา สวยงามยิ่งขึ้น
ท่าฟ้อนที่เป็นแม่แบบส่วนใหญ่นำมาจากกลอนลำ ซึ่งเรียกว่า "กลอนฟ้อน" เป็นกลอนยาวใช้กลอนเจ็ดแปดหรือกลอนเก้าแล้วแต่ผู้แต่งถนัดแบบใด การฟ้อนเป็นศิลปอันหนึ่งที่มาพร้อมกับการลำ การฟ้อนจะมีกี่แบบไม่ปรากฏแน่ชัด แต่หมอลำจะแต่ง กลอนฟ้อนแบบต่างๆ ไว้ ในขณะที่ลำหมอลำจะฟ้อนแสดงท่าทางตามกลอนที่แต่ง ดูแล้วเป็นการสนุกสนาน เช่น กลอนฟ้อน ของหมอลำเปลี่ยน วิมลสุข
มีความพยายามในการแบ่งท่ารำภาคอีสานออกมาให้ชัดเจนซึ่งมีหลายสำนัก เช่น จิราภรณ์ วุฒิพันธ์ (นาฏศิลป์อีสาน) ได้แบ่งออกเป็น 32 ท่า ดังนี้
|
|
ส่วน วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดได้คิดประดิษฐ์ชุดฟ้อนขึ้นโดยกำหนดว่าท่าแม่บท อีสานมีอยู่ 48 แม่ท่า เช่น ท่าพรหมสี่หน้า ท่าทศกัณฑ์เกี้ยวนางมณโฑ ท่าช้างเดินตามแม่ ท่าช้างชูงวง ท่ากาเต้นก้อน ท่ากากางปีก ท่าหลีกแม่เมีย ท่าลมพัดพร้าว ท่าท่าเสือออกเหล่า ท่าเต่าลงหนอง ท่าคนขาแหย่ง ท่าปู่สิงหลาน ท่าผู้เฒ่าฟังธรรม ท่าเกียจับไม้ ท่าบินนางมโนราห์ เป็นต้น
ลักษณะท่ามือและท่าเท้าการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน
- ท่ามือ ถ้าพิจารณาการเคลื่อนไหวของมือ คงเหมือนกับคำกล่าวที่ว่าท่าฟ้อนของอีสานเหมือน "ม่อนท่าวใย" คงเห็นภาพพจน์ได้ดีจากการฟ้อนของหมอลำที่หมุนมือพันกันคล้ายกับตั่วม่อนชัก ใยพันตัว ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นได้มาจากธรรมชาติคือมีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับลีลาของผู้ฟ้อนที่จะขยับมือเคลื่อนกายไปอย่างไร
- การจีบมือ ของชาวอีสานนั้นนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ไม่จดกัน จะห่างกันเล็กน้อยซึ่งแตกต่างจากการจีบของภาคกลาง ไม่สามารถเอาหลักนาฏศิลป์ของภาคกลางมาจับท่าฟ้อนของชาวอีสานได้ เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าจะจีบหงาย จีบคว่ำตอนไหน
- ท่าเท้า ท่าเท้าของการฟ้อนแบบอีสานมีลีลาแตกต่างจากภาคกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งพอจำแนกท่าเท้าที่ใช้ในการฟ้อนได้ดังนี้
- ท่าซอยเท้า เช่น การรำเซิ้ง การซอยเท้าให้เข้าจังหวะกลอง โดยเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่ายกส้นเท้าขึ้นไปด้านหลังให้มากที่สุด ซอยเท้าอย่างสม่ำเสมอ การรำเซิ้งนั้นมิใช่ยกเท้าให้ส้นเท้าสูง หรือยืนโดยอาศัยปลายเท้าคล้ายการเต้นบัลเล่ย์ซึ่งดูแล้วตลกผิดธรรมชาติ แต่เป็นการเปิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการซอยเท้า ซึ่งท่านี้ก็ไม่ใช่การย่ำเท้าอยู่กับที่โดยเหยียบเต็มฝ่าเท้า
- ท่าเท้าของผู้ไทเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทเรณูนครนอกจากจะมีการก้าวเดินตามธรรมดาแล้ว ยังมีอีกท่าหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเรณูนครเท่านั้น คือมือบนจีบข้างหูโดยปลายนิ้วที่จีบจะหันเข้าข้างหู แล้วส่งจีบผ่านใต้รักแร้ไปด้านหลัง แทงปลายมือไปด้านหน้าในลักษณะคว่ำมือม้วนมือมาจีบไว้ข้างหูดังเดิม สลับกันไปทั้งมือซ้ายและมือขวา คือ ถ้ามือซ้ายจีบไว้ข้างหู มือขวาก็จะส่งไปข้างหลัง
ส่วนท่าเท้าก็จะใช้ 4 จังหวะ คือ ขย่มตัว 2 จังหวะ ถ้ามือไหนส่งหลังกำลังจะแทงไปข้างหน้า ก็ใช้เท้าด้านนั้นแตะพื้น 4 ครั้ง อีก 2 จังหวะ โดยครั้งที่ 4 จะเหยียบขย่มตัว 2 จังหวะ ใช้เท้าอีกข้างหนึ่งแตะพื้น 4 ครั้ง แล้วเหยียบกันไปมาซึ่งจะสอดคล้องกับท่ามือที่เคลื่อนไหวไปมา - ท่าเท้าของผู้ไทกาฬสินธุ์ ท่าเท้าของการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์และการฟ้อนโปงลางจะใช้ท่าก้าวเท้า เช่นเดียวคือ การก้าวไขว้เท้าโดยเตะเท้าไปข้างหน้าก้าวไขว่ขย่มตัว ชักเท้าหลังเตะไปด้านหน้าไขว่เท้าขย่มตัวสลับกันไป ลักษณะคล้ายกับการเต้นควิกสเต็ป ที่แตกต่างกันก็คือการเตะเท้าไปข้างหน้า นอกนั้นใช้หลักการก้าวเท้าเช่นเดียวกับการเต้นควิกสเต็ป
- ท่าสืบเท้าหรือกระถดเท้าไปด้านข้าง ท่านี้จะใช้ในการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่นกัน เป็นการก้าวชิดก้าว แต่เป็นการก้าวเท้าไปทางด้านข้าง มีลักษณะเช่นเดียวกับการสไลด์เท้าไปทางด้านข้างนั่นเอง
ชุด ฟ้อนของภาคอีสานส่วนใหญ่จะใช้การก้าวเท้าลักษณะเดียวกับการรำเซิ้ง จะมีพิเศษอีกแบบหนึ่งคือ ท่าเท้าของผู้ชายในการฟ้อนผู้ไท จะใช้ลีลาการก้าวเท้าของการรำมวยที่เรียกว่า การรำมวยลาว หรือรำมวยโบราณ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกแบบหนึ่ง
การรำกลองยาว
ทหารพม่าในสมัยที่มีการต่อสุ้กันปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และเข้าใจว่าคนไทยนำมาเล่นในสมัยกรุงธนบุรี เพราะ
จังหวะ สนุกสนานเล่นง่าย เครื่องดนตรีก็คล้ายของไทยและจังหวะก็ปรับมาเป็นแบบไทย ๆ เพื่อประกอบการรำ แต่การแต่งกายยังคงคล้ายรูปแบบของพม่า เช่น โพกหัวแบบพม่า นุ่งโสร่ง เสื้อคอกลมแขนกว้าง แต่บางครั้งจะพบแต่งกายตามสบาย โอกาสที่แสดงนิยมในงานรื่นเริง เช่น ขบวนแห่นาค ขบวนแห่ผ้าป่า กฐิน งานฉลอง ขบวนขันหมาก ผู้รำร่วมก็จะแต่งกายตามสบาย แต่จะนิยมประแป้งพอกหน้าให้ขาว ทัดดอกไม้ เขียนหนวดเครา แต้มไฝ ลีลาท่าทางอาจจะ
แปลกพิสดารที่ทำให้ชวนหัวเราะ ยั่วเย้ากันเองในหมู่พวกหรือคนดู และบางครั้งก็อาจไปรำต้อนคนดูเข้ามาร่วมวงสนุกไปด้วย ผู้รำจะมีทั้งชายและหญิง ส่วนพวกตีเครื่องประกอบจังหวะก็จะทำหน้าที่ร้องและเป็นลูกคู่ไปด้วย
ลักษณะการแสดงรำกลองยาว
***** เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลองยาวหลายขนาด ซึ่งจะให้เสียงต่างกันออกไปจำนวนไม่จำกัด มีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และปี่ชวาการโห่ร้อง เป็นที่นิยมของการรำกลองยาวก่อนจะเริ่มบรรเลง จะมีการโห่สามลา โดยผู้นำวงจะโห่ยาว และลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า ฮิ้ว กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง จะรัวรับสามครั้ง จากนั้นกลองจะบรรเลงเป็นจังหวะประกอบท่ารำเพลงร้องประกอบ เป็นเพลงง่าย ๆ สนุกนาน เนื้อหาไม่เป็นสาระ ไม่บอกประวัติ หรือตำนานใด ๆ การแสดงประกอบอื่น ๆ ในการรำกลองยาว หรือเถิดเทิงหรือเทิ่งบอง เป็นการเรียกเลียนจากเสียงของกลองยาว ในระยะต่อ ๆ มา มีการนำการแสดงอย่างอื่นเข้ามาประกอบ เช่น หัวโต หัวจุก เจ้าแกละ ทำจากไม้ไผ่สานเป็นโครงและใช้กระดาษแปะระบายสี ทำเป็นหัวคนขนาดใหญ่ โดย
มาก มักจะทำเป็นหัวเด็กที่ไว้ผมจุกและผมแกละ ผู้เล่นจะนำหัวโตมาวมครอบหัวตัวเองแล้วเต็นไปตามจังหวะกลองยาวกระตั้วแทง เสือ มีตัวแสดง ๓ ตัว คือ เสือ นายกระตั้ว และเมียดำเนินเรื่องโดยนายกระตั้วและเมียออกไปหาผลไม้ในป่าและบังเอิญพบเสือ จึงมีการต่อสู้กัน ความสนุกสนานของการเล่นหรือการแสดงกระตั้วแทงเสือจะอยู่ที่ตัวแสดงที่เป็น เมียนายกระตั้ว เพราะนำผู้ชายมาแต่งตัวและเล่นเลียนแบบท่าทางของผู้หญิงอย่างกระโดกกระเดก น่าขัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องหนีเสือจนผ้าถุงหลุดลุ่ย แต่ในที่สุดนายกระตั้วก็สามารถแทงเสือตาย ขณะที่เล่นนี้ กลองยาวก็จะบรรเลงล้อมวงไปด้วยระยะเวลาการแสดง ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงขึ้นไป
โรคตาแดง
โรคตาแดง (Epidemic Kerato Conjunctivitis)
เป็นโรคติดต่อที่ระบาดง่าย เกิดจากการอักเสบของเยื้อบุตาจากการติดเชื้อไวรัสอาคิโนไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสต้ำตาของผู้ป่วยไม่ติดต่อกันทางสบสายตา หรือทานอาหารร่วมกัน มักเกิดในที่มีคนอยู่รวมกันมาก ๆ เช่นโรงเรียน โรงงาน ชุมชนแออัด เป็นต้น มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรค 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น
อาการ
อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มักมีขี้ตามาร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลือง หน้าหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน และจะติดต่อมายังอีกข้างได้ ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตาข้างที่ติ่ดเชื้อไวรัสมาถูกตาอีกข้างที่ดี ก็จะช่วยป้องกันตาข้างที่ยังไม่มีอาการได้โรคแทรกซ้อน
มีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ เกิดจากกระจกตาอักเสบซึ่งจะดีขึ้นได้ภายใน 3 วัน สัปดาห์หรือบางรายเป็น 1-3 เดือน ทำให้ตามัว และพร่าอยู่เป็นเวลานาน
การป้องกัน
- แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ร่วม และหมั่นล้างมือฟอกสบู่บ่อย ๆ
- พัก ผ่อนอยู่กับบ้าน ไม่ควรใช้สายตามากถ้าไม่จำเป็น เด็กที่เป็นโรคตาแดง ไม่ควรให้ไปโรงเรียนเพราะจะนำโรคไปติดต่อเพื่อนได้ ผู้ใหญ่ควรหยุดพักผ่อนอยู่กับบ้านจนกว่าจะหายตาแดง
- ประคบตาด้วยผ้าเย็น เช็ดน้ำด้วยสำลีสะอาด ชุบน้ำต้มสุกจะช่วยให้รู้สึกสบายตามากขึ้น
การรักษา
รักษาตามอาการของโรคเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดย ตรง ถ้ามีขี้ตามากควรหยอดยาปฏิชีวนะ มีไข้เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด และพยายามพักผ่อนให้มาก โดยเฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรนอนดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอดเวลา ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จบตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรเล่นน้ำในสระเพราะจะแพร่กระจายไวรัสไปในน้ำได้ใจของคุณเป็นอย่างนี้บ้างไหม
คิดอย่างไรไม่ให้เครียด
9 ลักษณะของประเทศที่ขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์
เลิกบุหรี่เพื่อลูก
กงล้อแห่งความดี
ควันขาว ภัยที่ไม่ควรมอฃข้าม
ควันขาว
สาเหตุของการเกิดควันขาว
น้ำมันหล่อลื่น
อันตรายของควันขาว
วิธีที่จะลดปริมาณควันขาว
ประชาชนควรบำรุงรักษาเครื่องยนต์เพื่อป้องกันและลดควันขาว