บิ๊กอาย

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาษาสากล หรือภาษาที่โลกลืม
ภาษา ถือเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของมนุษย์ในโลก กลม ๆ ใบนี้ แต่น่าใจหายไม่น้อย เมื่อทราบว่าภาษาอีกหลายร้อยหลายพันภาษาที่อยู่คู่กับมนุษย์มายาวนาน กำลังจะถึงกาลอวสาน หาผู้สืบทอดต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลสำคัญหลายอย่าง ก่อนหน้านี้ อาจจะเคยได้ยินคนพูดภาษาอูดิฮี ในแถวไซบีเรีย, ภาษาอียัค ในดินแดนอลาสกา หรือภาาาอะริคาปู ในป่าดงดิบแถบอเมซอน นับจากนี้ต่อไปอีกไม่นานนัก เราอาจจะไม่ได้ยินภาษาเหล่านี้แล้วก็ได้
ในจำนวนภาษาที่มนุษย์ใช้อยู่ทั่วโลกเวลานี้ มีถึง 6,800 ภาษา แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าภาษาเหล่านี้กว่าครึ่งหนึ่ง ถึงร้อยละ 90 อาจจะอันตรธานหาบสาปสูญไปจากโลกมนุษย์ภายใน100 ปีนี้ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? "สถาบันเวิลด์วอตช์" องค์กรเอกชนที่เฝ้าติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก นำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เหตุผลหนึ่งก็คือว่า กว่าครึ่งหนึ่งของภาษาที่ใช้กันทั่วโลก แต่ละภาษามีคนพูดน้อยกว่า 2,500 คน ซึ่งถือว่าน้อยเหลือเกิน และหนักหนาสาหัสมากที่จะธำรงรักษาให้ภาษาคงอยู่ต่อไปนี้
ด้านองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนส โกระบุว่า การสืบทอดภาษาให้คงอยู่ต่อไปจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกคนอีกรุ่นหนึ่งนั้นจำ เป็นต้องมีคนพูดภาษานั้น ๆ ได้อย่างน้อย 100,000 คนขึ้นไป
สำหรับ 10 ภาษาที่กลายเป็นภาษาสากลยอดนิยมที่มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดในโลกนั้น ประกอบด้วย ภาษาจีนกลาง มีผู้พูดมากที่สุด 885 ล้านคน ภาษาสเปน 332 ล้านคน, ภาษาอังกฤษ 322 ล้านคน, ภาษาอารบิค 220 ล้านคน, ภาษาเบงกาลี 189 ล้านคน, ภาษาฮินดี 182 ล้านคน, ภาษาโปรตุเกส 170 ล้านคน, ภาษารัสเซีย 170 ล้านคน, ภาษาญี่ปุ่น 125 ล้านคน และภาษาเยอรมัน 98 ล้านคน
ในขณะที่ภาษาไทยของเรานั้น แน่นอนอยู่แล้วว่า 62 ล้านคนในประเทศไทย ต้องพูดภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นไทยอยู่แล้วและต้องไม่ลืมว่า เรายังมีคนไทยที่ไปอาศัยอยู่ในต่างแดน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็ยังอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ นอกจากนั้นแล้ววิชาภาษาไทย ยังถูกบรรจุอยู่ในวิชาภาษาต่างประเทศของการศึกษาในระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศบางประเทศด้วย ซึ่งเราควรจะภาคภูมิใจในภาษาไทยของเรา
ย้อนกลับมาที่ภาษาที่โลกลืมกันต่อ สงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ การยึดครองและภัยธรรมชาติรุนแรง กล่าวได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของการทำลายล้างภาษาให้สิ้นไปจากโลก เพราะมนุษย์จะเสียชีวิตไปเพราะสาเหตุเหล่านี้เป็นจำนวนมหาศาล พร้อม ๆ กับภาษาที่พวกเขาใช้ด้วย
เวิลด์วอตช์ระบุว่า ขณะนี้ มีคนพูดภาษาอูดิฮี ได้แค่ 100 คน ส่วนภาษาอะริคาปู มีคนพูดได้น้อยยิ่งกว่า เพียง 6 คนเท่านั้น แต่ที่น่าตกใจที่สุดเห็นจะเป็นภาษาอียัค ที่มีคนพูดได้เพียงคนเดียวในโลก คือคุณยายมารี สมิธ วัย 83 ปี อาศัยอยู่ในเมืองอันโชเรจ รัฐอลาสกา เธอคือคนสุดท้ายที่พูดภาษานี้ได้ และอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าภาษาอียัค ก็จะสูญสิ้นไปพร้อมกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของคุณยายวัยดึกผู้นี้
ดูแล้ว ภาษาอียัค น่าจะเป็นภาษาต่อไปที่สูญหายจากโลก คงเหลือแต่เพียงประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ในหนังสือว่าครั้งหนึ่งยังมีภาษา นี้ใช้ในโลกมนุษย์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้รับทราบกันเพียงเท่านั้น
คงจะยังจดจำกันได้เป็นอย่างดีกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ที่สุดที่เกิดขึ้นในอินเดียในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ต้อนรับปีใหม่ของปี 2544 โดยได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงขึ้นในภาคตะวันตกของอินเดีย ทำให้มีประชาชนที่พูดภาษากุดจี ตายเป็นเบือ ประมาณ 30,000 คน เหลือผู้พูดภาษานี้จริง ๆ เพียง 770,000 คน เท่านั้น นับว่าเป็นเหตุการณ์วิปโยคที่นอกจากจะสร้างความเสียหายในด้านเศรษฐกิจแล้ว คงไม่มีใครคิดว่าจะส่งผลกระทบอย่างร้ายกาจต่อมรดกวัฒนธรรมของประชาชนใน พื้นที่ด้วย
สถานการณ์ใกล้ "สูญพันธุ์" เริ่มเห็นราง ๆ แล้วสำหรับภาษากุดจี หากคน 770,000 คน ไม่ช่วยกันอุ้มชูรักษาไว้ ก็น่าจะสาปสูญไปเช่นกัน ตัวอย่างนี้น่าจะเห็นชัดว่า ภัยธรรมชาติเป็นอันตรายเพียงใดต่อวัฒนธรรมของมนุษย์
สำหรับ 8 ประเภทที่มีภาษาใช้อย่างดาษดื่นมากที่สุด ประกอบด้วย ปาปัวนิวกินี มี 832 ภาษา, อินโดนีเซีย 731 ภาษา, ไนจีเรีย 515 ภาษา, อินเดีย 400 ภาษา, เม็กซิโก แคเมอรูน และออสเตรเลีย มีประเทศละ 300 ภาษา และบราซิลมี 234 ภาษา โดยอินเดียนั้น มีภาษาราชการใช้ถึง 15 ภาษา มากกว่าประเทศอื่นใดทั้งหมด
การสูญสิ้นไปของภาษาพูดไม่ใช่เป็นของใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่เชื่อว่ามีภาษานับพันภาษาได้หาบสาปสูญไปก่อนหน้านี้แล้ว
บรรดานักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่า ภาษาพูดของมนุษย์ 3,400 - 6,120 ภาษา อาจจะสูญหายภายในปี 2643 หรืออีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า ซึ่งก็เท่ากับจะมีภาษาพูดสูญหายไป 1 ภาษาในทุก 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะมีหลายภาษากำลังง่อนแง่นใกล้สูญไป แต่ยังมี 2 - 3 ภาษา ซึ่งก็รวมทั้งภาษาจีน, กรีก และฮิบรู อันเป็นภาษาโบราณที่ใช้กันมามากกว่า 2,000 ปี กำลังจะฟื้นคืนชีพรอดพ้นจากการสูญหายไป เนื่องจากมีผู้คนหันกลับมาพูดภาษาเหล่านั้นแล้วอย่างน่ายินดี
แม้ว่าภาษาบางภาษากำลังใกล้ถึง "จุดจบ" แต่ก็ใช่ว่า เจ้าของภาษาจะไม่ดิ้นรนขวนขวายเพื่อรักษาภาษาพูดของเขาไว้ชั่วลูกชั่วหลาน ต่อไป ในปี 2526 ชาวฮาวายได้จัดตั้งองค์กร "อะฮา ปูนานา ลีโอ" ขึ้นเพื่อพลิกฟื้นกอบกู้ภาษาพื้นเมืองของพวกเขาที่เคยใช้กันอยู่ทั่วไปบน เกาะฮาวายแห่งนี้ โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐด้วย ว่ากันตามความเป็๋นจริงแล้ว ภาษาพื้นเมืองของชาวฮาวายก็เกือบเอาตัวไม่รอดแล้วเช่นกัน เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯสั่งห้ามไม่ให้สอนภาษานี้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนบนเกาะ ฮาวายมาตั้งปี 2441 แล้ว
องค์กร "อะฮา ปูนานา ลีโอ" ซึ่งหมายถึง "เครือข่ายภาษา" ได้รื้อฟื้นเปิดสอนภาษาพื้นเมืองฮาวายในโรงเรียนอนุบาลในปี 2527 หลังจากที่สอนในโรงเรียนมัธยม จนสามารถผลิตนักเรียนรุ่นแรกที่จบหลักสูตรภาษานี้ในปี 2542 จนถึงขณะนี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างมากว่า มีชาวฮาวายประมาณ 7,000 - 10,000 คน สามารถพูดภาษาพื้นเมืองนี้ได้ จากเดิมที่มีอยู่ไม่ถึง 1,000 คนเมื่อปี 2526 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียวสำหรับโครงการชุบชีวิตของภาษานี้ และน่าจะถือเป็นแบบอย่างได้สำหรับภาษาที่กำลังใกล้สูญหาย เพราะทำได้ในลักษณะเดียวกันนี้ก็ถือว่ายังไม่สายเกินแก้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น