ปัญหาวัยรุ่น ต้นเหตุและทางแก้
เวลา ที่รับรู้ปัญหาของวัยรุ่น หลายคนมีความหงุดหงิด ไม่พอใจ เบื่อ รู้สึกว่าทำไมไม่เลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง ทำไมต้องสร้างปัญหา คนจำนวนหนึ่งอยากจัดการปัญหาด้วยความรุนแรง ในความเป็นจริงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นมีเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ถ้าจัดการเฉพาะที่ตัววัยรุ่น คงแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน
ทำไมเด็กบาง คนเกิดปัญหาพฤติกรรม ทำไมเด็กบางคนมีความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงและเรื่องเพศ ทำไมเด็กบางคนไม่มีปัญหาทั้งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง
แพทย์หญิงพรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล อธิบาย ถึงปัญหานี้ว่า การเกิดปัญหาของวัยรุ่นมีปัจจัยเสี่ยงทั้งในตัวเด็กและในสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันมีปัจจัยปกป้องที่ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม แม้จะแวดล้อมด้วยสภาพที่เสี่ยงก็ตาม
ในทางจิตวิทยา ถ้าจะแก้ไขปัญหาเด็ก ต้องลดปัจจัยเสี่ยงในตัวเด็กและสิ่งแวดล้อมลง และสร้างปัจจัยปกป้องเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้
เริ่มจากความเสี่ยงแรกคือความเสี่ยงในตัวเด็ก ซึ่งมีผลมาจากครอบครัว การไม่ได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัว ถูกมองว่าเป็นแกะดำ ใช้ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง จะทำให้เด็กมีความคิดต่อต้านสังคม ไม่ยอมรับกติกาการอยู่ร่วมกัน
จากสภาวะดังกล่าวจะทำให้เด็กมีทัศนคติ ที่ดีต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มองพฤติกรรมเหล่านั้นในลักษณะโก้ เป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ให้ความพอใจอย่างทันทีทันใด โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา
นอก จากนี้การที่เริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุยังน้อย ในเด็กที่อยู่ในสภาพปัญหาตั้งแต่กระบวนการคิดพิจารณาด้วยตัวเด็กเองยังไม่ สามารถคิด ตัดสินใจได้ ทำให้ถูกหล่อหลอมความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสม
ความเสี่ยงต่อมาได้แก่ ความเสี่ยงจากครอบครัว ครอบครัวบางครอบครัวยอมตามลูก ไม่รู้วิธีที่จะจูงใจเด็กให้ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูกไม่เคยรู้ว่าลูกมีปัญหาอย่างไร บางครอบครัวใช้วิธีบังคับรุนแรงแต่ไม่เคยแก้ปัญหาเด็กได้จริง ครอบครัวมีความขัดแย้ง มีปัญหาในครอบครัว เด็กไม่อยากกลับบ้าน ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ในที่สุดมีกลุ่มของตนเองซึ่งเด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มมากกว่าของครอบ ครัว
บางครอบครัวส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มีทัศนคติยอมรับพฤติกรรมของเด็ก และมองปัญหาว่ามาจากคนอื่น เช่น โทษว่าเพื่อนลูกเป็นต้นเหตุ ปกป้องเด็กในทางที่ผิด ไม่ฝึกเด็กให้รับผิดชอบการกระทำของตนเอง พ่อแม่แก้ไขปัญหาพฤติกรรมลูกด้วยวิธีที่ผิด
นอกจากนี้การที่มีพ่อแม่ มีปัญหาพฤติกรรมไม่น้อยไปกว่าลูก เรียกว่าเป็นพ่อปูกับลูกปูเดินตามกันมา จะทำให้เด็กซึมซับความเห็นแก่ตัว ไม่สนใจเรื่องศีลธรรมมาจากตัวพ่อแม่
ความเสี่ยงในชุมชนและสังคมเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ การ เข้าถึงอบายมุข เหล้า ยา อาวุธ เรียกว่าแวดล้อมด้วยสิ่งจูงใจให้มีความเสี่ยง ทัศนคติของชุมชนเองยอมรับอบายมุข ยอมให้มีสิ่งมอมเมา ผู้ใหญ่ทำผิดให้เด็กเห็น
ค่านิยมของสังคมที่ยอมรับพฤติกรรมเสี่ยง ผู้ใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงเหมือนเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเป็นต้นแบบทางสังคมแต่มีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม ขาดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความเสี่ยง ขาดนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง ปัญหาไม่สามารถแก้ได้ในพริบตา ต้องวางแนวคิดการพัฒนาที่หวังผลในระยะเป็นสิบปี ซึ่งต้องการการตัดสินใจทางนโยบายที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เด็ก
สำหรับหนทางในการแก้ปัญหา ต้องหาทางป้องกันหรือลดความเสี่ยงลง และสร้างภูมิต้านทานให้กับลูก ดังนี้
* สร้างเป้าหมายในชีวิต ในวัยรุ่นการมีเป้าหมายในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ การค้นพบสิ่งที่ตนเองต้องการ และมีความหวังในอนาคต ทำให้เด็กเชื่อมั่น และต้องการเดินทางไปให้ถึง ความมุ่งมั่นในเป้าหมายจะทำให้เด็กตั้งใจ ยึดมั่นในความสำเร็จมากกว่าใช้เวลากับสิ่งที่ยั่วยุ
ปัญหาใหญ่ของ วัยรุ่นไทยส่วนหนึ่งไม่เคยสนใจอนาคตตัวเอง เพราะมีคนคิดแทน จัดการกำหนดให้ว่าควรจะทำอย่างไร โดยตัวเด็กไม่เคยรู้สึกว่าเป็นความต้องการของตนเอง ในขณะที่เด็กอีกกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม แม้จะตั้งความหวัง แต่ชีวิตไม่เคยมีโอกาสจะไปถึง เด็กกลุ่มนี้ทิ้งอนาคตตัวเอง เอาชีวิตรอดไปวันๆ
* สร้างบุคลิกภาพที่มั่นคง เป็นผลมาจากการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เด็กมีความเชื่อมั่นในคนรอบข้างโดย เฉพาะคนที่เป็นพ่อและแม่ เชื่อมั่นว่าพ่อแม่สามารถให้คำแนะนำอย่างเข้าใจ พูดคุยปัญหากับพ่อแม่ได้ มั่นใจในตนเอง มีความภาคภูมิใจ จะสัมพันธ์กับความมั่นใจว่าตนเองสามารถมีชีวิตที่ดีแม้จะแวดล้อมด้วยสิ่งที่ เป็นอบายมุข เด็กกลุ่มนี้จะมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ทำให้มีกลุ่มเพื่อน คนที่เด็กสามารถไว้วางใจได้
* มีความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง อบรมสั่งสอนตั้งแต่วัยเด็ก สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องได้ และมีความเชื่อมั่น แม้จะเห็นคนอื่นทำสิ่งที่ผิด แต่ยังยืนหยัดที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กแสวงหาความหมายของชีวิต การมีประสบการณ์ที่สอนเรื่องชีวิตทำให้เด็กเข้าใจสถานการณ์ในชีวิตดีขึ้น พื้นที่ดีๆ ที่สอนการเรียนรู้สำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ใน ส่วนของครอบครัวย่อมมีความสำคัญในการแก้ปัญหา เริ่มจากสัมพันธภาพในครอบครัว จะเป็นตัวบ่งบอกอุณหภูมิในบ้านว่าสมาชิกอยากกลับมาที่บ้านและเป็นส่วนหนึ่ง ของครอบครัว สายสัมพันธ์ที่มีต่อกันทำให้เด็กคำนึงว่าสิ่งที่ตนกระทำจะเกิดผลอย่างไรกับ ครอบครัว และด้วยความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้อบรมสั่งสอนลูกด้วยความรักได้ สัมพันธภาพที่ดีเกิดจากความสามารถในการสื่อสารความรักต่อกัน เมื่อเด็กเริ่มโตเริ่มมีความต้องการเป็นของตนเองมักเกิดความขัดแย้งกับ ผู้ใหญ่ การสื่อสารด้วยเหตุผลเป็นการอธิบายความต้องการของพ่อแม่และรับฟังความต้อง การของลูก
ดังนั้นการฝึกทักษะสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกโตเป็นวัยรุ่น เป็นเรื่องจำเป็น จะพูดอธิบายความต้องการของตนเองอย่างไร จะแสดงความรักกับลูกอย่างไร ทำอย่างไรลูกจะเข้าใจความคาดหวังของพ่อแม่ในทางที่ดี ไม่ใช่การกดดัน
ครอบ ครัวพร้อมสนับสนุนเด็กวัยรุ่นมีปัญหาได้ง่าย มีความอยากลองอยากเรียนรู้ บางครั้งมีความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ต้องการการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเข้าใจให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ พ่อแม่ต้องมีทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีทางบวก อธิบาย อบรม ชี้แนะ ให้กำลังใจมากกว่าการใช้อารมณ์ ประชด ด่าว่า ไล่ออกจากบ้าน
หากเริ่มต้นแก้ปัญหาเล็กๆ ไม่ได้ เด็กจะขยับเข้าไปหากลุ่มที่นำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น
ด้าน สังคมและชุมชน ต้องร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับเด็ก เข้าถึงเหล้าบุหรี่ยาเสพติดได้ยาก รวมทั้งอบายมุขทุกชนิด ชุมชนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็ก จัดพื้นที่ทางสังคมให้กับเด็กเพิ่มมากขึ้นในขณะที่พยายามลดพื้นที่ที่ทำให้ เด็กเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาลง และการวางนโยบายระยะยาวว่าจะลงทุนอย่างไรในการสร้างปัจจัยปกป้องทุกด้านให้ กับเด็ก ปัญหาวัยรุ่นที่พ่อแม่กำลังเผชิญอยู่ เป็นช่วงเวลาหนึ่งของพัฒนาการของลูก อยากเห็นลูกเป็นอย่างไรในอนาคต ต้องใช้เวลาที่ดีต่อกันในการดูแลลูกในวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น