การรำกลองยาว มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เถิดเทิง เทิ่งบองกลองยาว สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นการเล่นของพวก
ทหารพม่าในสมัยที่มีการต่อสุ้กันปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และเข้าใจว่าคนไทยนำมาเล่นในสมัยกรุงธนบุรี เพราะ
จังหวะ สนุกสนานเล่นง่าย เครื่องดนตรีก็คล้ายของไทยและจังหวะก็ปรับมาเป็นแบบไทย ๆ เพื่อประกอบการรำ แต่การแต่งกายยังคงคล้ายรูปแบบของพม่า เช่น โพกหัวแบบพม่า นุ่งโสร่ง เสื้อคอกลมแขนกว้าง แต่บางครั้งจะพบแต่งกายตามสบาย โอกาสที่แสดงนิยมในงานรื่นเริง เช่น ขบวนแห่นาค ขบวนแห่ผ้าป่า กฐิน งานฉลอง ขบวนขันหมาก ผู้รำร่วมก็จะแต่งกายตามสบาย แต่จะนิยมประแป้งพอกหน้าให้ขาว ทัดดอกไม้ เขียนหนวดเครา แต้มไฝ ลีลาท่าทางอาจจะ
แปลกพิสดารที่ทำให้ชวนหัวเราะ ยั่วเย้ากันเองในหมู่พวกหรือคนดู และบางครั้งก็อาจไปรำต้อนคนดูเข้ามาร่วมวงสนุกไปด้วย ผู้รำจะมีทั้งชายและหญิง ส่วนพวกตีเครื่องประกอบจังหวะก็จะทำหน้าที่ร้องและเป็นลูกคู่ไปด้วย
ลักษณะการแสดงรำกลองยาว
***** เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลองยาวหลายขนาด ซึ่งจะให้เสียงต่างกันออกไปจำนวนไม่จำกัด มีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และปี่ชวาการโห่ร้อง เป็นที่นิยมของการรำกลองยาวก่อนจะเริ่มบรรเลง จะมีการโห่สามลา โดยผู้นำวงจะโห่ยาว และลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า ฮิ้ว กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง จะรัวรับสามครั้ง จากนั้นกลองจะบรรเลงเป็นจังหวะประกอบท่ารำเพลงร้องประกอบ เป็นเพลงง่าย ๆ สนุกนาน เนื้อหาไม่เป็นสาระ ไม่บอกประวัติ หรือตำนานใด ๆ การแสดงประกอบอื่น ๆ ในการรำกลองยาว หรือเถิดเทิงหรือเทิ่งบอง เป็นการเรียกเลียนจากเสียงของกลองยาว ในระยะต่อ ๆ มา มีการนำการแสดงอย่างอื่นเข้ามาประกอบ เช่น หัวโต หัวจุก เจ้าแกละ ทำจากไม้ไผ่สานเป็นโครงและใช้กระดาษแปะระบายสี ทำเป็นหัวคนขนาดใหญ่ โดย
มาก มักจะทำเป็นหัวเด็กที่ไว้ผมจุกและผมแกละ ผู้เล่นจะนำหัวโตมาวมครอบหัวตัวเองแล้วเต็นไปตามจังหวะกลองยาวกระตั้วแทง เสือ มีตัวแสดง ๓ ตัว คือ เสือ นายกระตั้ว และเมียดำเนินเรื่องโดยนายกระตั้วและเมียออกไปหาผลไม้ในป่าและบังเอิญพบเสือ จึงมีการต่อสู้กัน ความสนุกสนานของการเล่นหรือการแสดงกระตั้วแทงเสือจะอยู่ที่ตัวแสดงที่เป็น เมียนายกระตั้ว เพราะนำผู้ชายมาแต่งตัวและเล่นเลียนแบบท่าทางของผู้หญิงอย่างกระโดกกระเดก น่าขัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องหนีเสือจนผ้าถุงหลุดลุ่ย แต่ในที่สุดนายกระตั้วก็สามารถแทงเสือตาย ขณะที่เล่นนี้ กลองยาวก็จะบรรเลงล้อมวงไปด้วยระยะเวลาการแสดง ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น